รายการบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

เต่าทอง


เต่าทอง

Ladybug

ลักษณะทั่วไป
แมลงเต่าทองมีช่วงการเจริญเติบโตครบทั้ง 4 ระยะ คือ ระยะตัวเต็มวัย ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะดักแด้
ตัวเต็มวัย
ตัวเต็มวัยหลังจากฟักออกจากดักแด้จะเป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวยาว 3-6 มิลลิเมตร ลำตัวมีลักษณะมันวาว มีหลายสีตามชนิด อาทิ สีน้ำตาลแดง สีแดง สีเหลืองปนน้ำตาลแดง และสีเหลือง เป็นต้น
ส่วนหัว และอกมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนท้อง หัว และอกมีสำดำ และพบจุดแต้มสีขาวบนส่วนอก แต่บางชนิดอาจมีีส่วนอก และส่วนหัวเป็นสีเดียวกันกับสีปีก บางชนิดมีอกปล้องแรกสีเหลือง มีสัญลักษณ์คล้ายรูปตัวที (T-shaped) อยู่ตรงกลางเชื่อมต่อกับเส้นกลางปีก และปีกแต่ละข้างมีลายหยักขวาง 2 เส้น โดยส่วนปีกอาจมีได้หลายสีตามที่กล่าวข้างต้น แต่ทุกชนิดจะมีจุดสีดำแต้มติดบนส่วนปีก จุดนี้อาจมี 4 จุด หรือมากกว่า และมักพบจุดแต้มสีดำที่แต้มเชื่อมกันบริเวณกึ่งกลางโคนปีกที่เชื่อมติดกับส่วนอก บางชนิดอาจมีหนวด แต่บางชนิดไม่มีหนวด อาจมีขนปกคลุม และอาจไม่มีขนปกคลุม
ขามี 6 ขา สีดำ ขาคู่แรกอยู่ที่ส่วนอก ส่วนขาอีก 2 คู่ อยู่ที่ตอนต้นติดกับส่วนอก 1 คู่ และตอนกลางของส่วนท้อง 1 คู่ ขามีลักษณะเป็นปล้องต่อกัน 3 ปล้อง แบ่งเป็นโคนขา ขา และเท้าที่เป็นปล้องสุดท้าย มีระยะตัวเต็มวัยประมาณ 55-92 วัน มีวงจรชีวิตประมาณ 71-117 วัน
Ladybug1
ระยะไข่
แมลงเต่าทองจะชอบวางไข่ใต้ใบไม้ในลักษณะเรียงกันเป็นแถว 2-3 แถว กลุ่มละ 8-16 ฟอง ไข่ที่ออกมามีลักษณะกลมยาว กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร สีเหลือง และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และดำ จนฟักออกเป็นตัวอ่อน ภายใน 3-4 วัน หลังวางไข่
ระยะตัวอ่อน
ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ และเจริญจนมีอัตราเติบโตคงที่จะมีความยาวลำตัวประมาณ 8-9 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำปนน้ำตาลแดง มีกลุ่มขนคล้ายปะการังเรียงเป็นแถวบริเวณส่วนหน้าของหัวจรดส่วนท้ายของลำตัว ส่วนบนสันหลังปล้องที่ 1 และปล้องที่ 4 ของส่วนท้อง  และบริเวณด้านข้าง และด้านล่างของลำตัว จะมีสีเหลืองอ่อนเกือบขาว เมื่อเริ่มเข้าระยะดักแด้ ลำตัวจะหดสั้นลง มีระยะตัวอ่อน 10-15 วัน
ระยะดักแด้
เมื่อเข้าดักแด้ ดักแด้จะมีลักษณะแบนเล็กน้อย มีสีเหลือง มีรูปร่างรีคล้ายไข่ ส่วนปลายสุดของปล้องท้องงอเข้าหาส่วนอก กลุ่มขนจะร่วงหายไป บนดักแด้มีรอยพาดสีดำ และจุดสีดำเล็กๆ มีระยะดักแด้ 3-6 วัน
การดำรงชีพ
ตลอดอายุขัย เพศเมียสามารถวางไข่ได้กว่า 23 ครั้ง จำนวนไข่แต่ละครั้ง 439 ฟอง มีร้อยละการฟักออกจากไข่ 99.05
อาหารแมลงเต่าทอง
แมลงเต่าทองจัดเป็นตัวห้ำที่คอยควบคุมแมลงต่างๆ โดยมีอาหารที่คอยจับกิน ได้แก่ แมลงชนิดต่างๆ เพลี้ย และหนอนของแมลง
ประโยชน์แมลงเต่าทอง
แมลงเต่าทองเป็นแมลงตัวห้ำที่คอยควบคุมศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ไข่ และหนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวัน ไข่ และหนอนแมลงหวี่ หนอนซอนใบ และไร เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น