รายการบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

งานวันวิชาการ


งานวันวิชาการ

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป

เตรียมต้อนรับประธานเปิดงาน

ในภาพอาจจะมี 12 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนอยู่บนเวที และ ผู้คนกำลังยืน

ประธาน ผู้เปิดงาน

ในภาพอาจจะมี 4 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่กลางแจ้ง

เปิดงาน วันวิชาการ' 59

ในภาพอาจจะมี 9 คน, ผู้คนกำลังยืน, ผู้คนอยู่บนเวที และ งานแต่งงาน

การแสดงเปิดงาน

ในภาพอาจจะมี 5 คน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ แนะแนว

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังยืน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา

ในภาพอาจจะมี 7 คน, ผู้คนกำลังนั่ง, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่ม

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย

ในภาพอาจจะมี 3 คน, ผู้คนกำลังยืน และ สถานที่ในร่ม

กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ

ในภาพอาจจะมี 9 คน, ผู้คนกำลังยืน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา และพลศึกษา

ในภาพอาจจะมี 15 คน, คนที่ยิ้ม

กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี

ในภาพอาจจะมี 4 คน, ผู้คนกำลังยืน

กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์

ในภาพอาจจะมี 5 คน, ผู้คนกำลังนั่ง และ ผู้คนกำลังยืน

และสุดท้าย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์

ในภาพอาจจะมี 5 คน, ผู้คนกำลังยืน

ขอบคุณสำหรับการรับชม สามารถติดต่อสอบถาม และดูกิจกรรมเพิ่มเติม ได้ที่ :

นกฮูก


นกฮูก


นกฮูก เป็นนกที่ออกหากินในเวลากลางคืน และเป็นสัตว์ปีกในตระกูล Tytonidae กับ Strigidae เราสามารถพบเห็นมันในทุกภูมิภาคของโลก มันมีจงอยปากและกรงเล็บที่แหลมคมคล้ายเหยี่ยว ตามตัวมีขนปกคลุม เต็มและมีใบหน้ากลม หูและตาของนกฮูกแหลมคมมาก มันมีสไตล์การบิน ที่เงียบเชียบจนแทบปราศจากเสียง ตัวของมันมีขนาดต่างๆ กันตั้งแต่ 10 เซนติเมตร จนกระทั่งถึง 60 เซนติเมตร ขนของมันมีทั้งสีดำ ขาวน้ำตาล เทาและเหลืองอ่อนปะปนกัน มันชอบกินสัตว์เป็นๆ เช่น นกที่มีขนาดเล็ก กว่าหนู กบ แมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานเช่น กิ้งก่า เป็นต้น เสียงร้องของมัน ทุ้มต่ำเหมือนเสียงคราง
นกฮูกที่เรารู้จักมีหลายพันธุ์เช่น ฮูกยุ้ง (barn owl) และฮูกจิ๋ว (little owl) ซึ่งสูงประมาณ 16 เซนติเมตร และมีหางสั้น ปีกของนกฮูกนี้แผ่กว้าง นุ่ม และปลายมน ขนที่นุ่มนี้เองที่ทำให้การบินของมันปราศจากเสียง โดยมัน จะพุ่งตัวจากยอดไม้ด้วยความเร็วสูง การใช้สายตาที่แหลมคม และหูที่ไว ต่อเสียง ประกอบกับกรงเล็บที่แหลมและจงอยปากที่คม ช่วยให้มันจับเหยื่อ และแทะเนื้อเหยื่อได้อย่างสะดวกสบาย มันวางไข่ครั้งละ 4-5 ฟอง และเวลาตัวเมียฟักไข่ ตัวผู้จะออกหาอาหาร นกฮูกเหยี่ยว (eagle owl) เป็นนกฮูกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มันมีกระบังขนชี้ขึ้นคล้ายหู มีจงอยปาก ที่แข็งแรงและชอบกินหนูตัวโตๆ
นักชีววิทยาได้พบว่า ตาของนกฮูกสามารถมองเห็นวัตถุในที่มืดได้ดีกว่าตาของมนุษย์ราว 100 เท่า ตาสองตาของมันทำงาน ประสานกัน ทำให้สามารถมองเห็นเป็นมุมกว้างรวมกัน 100๐ และมุมมองของตาทั้งสองนั้นเหลื่อมซ้อนกันถึง 70๐การที่มุมของ ทัศนวิสัยซ้อน กันเช่นนี้ทำให้มันเห็นวัตถุ 3 มิติเช่นเดียวกับตาคน พรสวรรค์เช่นนี้ช่วยให้มันกะระยะทางของเหยื่อได้ดีกว่านก ทุกชนิดในโลก นอกจากนี้ นักชีววิทยายังได้สังเกตเห็นอีกว่า นกฮูกบางชนิดมีใบหูและรูหูที่ระดับต่างกัน ดังนั้น เวลาหนูหรือนกเล็กๆ เคลื่อนไหว เสียงจากเหยื่อ เหล่านี้จะใช้เวลาในการเดินทางถึงรูหูทั้งสองต่างกัน ซึ่งมีผลทำให้สมองของมันสามารถคำนวณตำแหน่งของ เจ้าของเสียงนั้นๆ ได้
ในวารสาร Conservation Biology เมื่อ 3 ปีก่อนนี้ S.Wassar แห่งมหาวิทยาลัย Washington ในสหรัฐอเมริกา ได้รายงานวิธีวัดความเครียดของนกฮูกว่าตามปกตินกฮูกก็เช่นเดียวกับคน คือเวลาเห็นศัตรูหรือเวลาถูกรบกวนด้วยเสียงดัง ร่างกายมัน จะหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา ซึ่งมีผลทำให้ชีพจรของมันเต้นแรง และถ้าเป็นสัตว์ตัวเมีย ฮอร์โมน corticosterone นี้ จะทำให้สัตว์ ตกลูกยาก และมีภูมิต้านทานโรคน้อย ซึ่งอาการเหล่านี้มีส่วนทำให้สัตว์สูญพันธุ์
ดังนั้นการรู้วิธีวัดความเครียดในสัตว์ จึงสามารถใช้เป็นดัชนีช่วยในการป้องกันไม่ให้สัตว์สูญพันธุ์ได้ และเท่าที่ผ่านมาในอดีต นักชีววิทยามักใช้วิธีจับสัตว์มาวัดปริมาณ corticosterone ที่มีในตัวของมัน แต่วิธีนี้ไม่ดี เพราะเพียงแต่ไล่จับมัน มันก็เครียด เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ปริมาณฮอร์โมนเครียดที่วัดได้ จึงไม่ใช่ความเครียดที่เกิดตามธรรมชาติ แต่เป็นความเครียดที่เกิดจากคน
ด้วยเหตุที่ S.Wassar จึงได้เสนอให้นักชีววิทยาใช้เทคนิคการวัดความเครียดในสัตว์ใหม่ โดยเขาได้พบว่า ในมูลที่นกฮูกลายจุด ถ่ายมีฮอร์โมน corticosterone ปนออกมาด้วย ดังนั้น ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ปริมาณฮอร์โมนชนิดนี้ในมูลของนกฮูกสามารถ ใช้เป็นดัชนีบอกความเครียดของนกฮูกได้ และเขาก็ได้พบว่า นกฮูกที่มีรังอยู่ในป่าที่มีการตัดไม้ทำลายป่ามาก จะเครียดมากกว่านกฮูก ที่อาศัยอยู่ในป่าที่มีต้นไม้มากและการตัดไม้ทำลายป่าน้อย ส่วนนกฮูกตัวเมียนั้นจะเครียดจัดเวลาลูกนกฮูกใกล้จะบินจากรัง ซึ่งผลจาก การวิจัยของ Wassar นี้ ได้ชี้นำให้รัฐบาลสหรัฐฯ ออกกฎหมายคุ้มครองป่าที่นกฮูกต่างๆ อาศัยอยู่ และห้ามการตัดไม้ทำลายป่า เมื่อถึงฤดูนกสืบพันธุ์ เพราะเสียงการตัดต้นไม้ในป่าจะรบกวนจิตใจของนกฮูกนั่นเอง
ในวารสาร Journal of Avian Biology ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ.2544 S.Redpath แห่ง Centre for Ecology and Hydrology ในประเทศอังกฤษ ได้รายงานการศึกษานกฮูกสีเหลืองน้ำตาล (tawny owl) ในป่า Kielder ว่า เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิ นกต่างๆ จะส่งเสียงร้องเซ็งแซ่ นกฮูกก็เช่นกัน แต่เสียงร้องของนกฮูกมิใช่เป็นเพียงเครื่องหมายแสดงความเบิกบานของจิตใจเท่านั้น มันยังเป็นสัญญาณบอกนกฮูกเพศตรงกันข้ามว่าเจ้าของเสียงร้องนั้น มีร่างกายที่สมบูรณ์ และเหมาะแก่การสืบพันธุ์เช่นไรอีกด้วย เพราะหูของนกฮูกสามารถจำแนกคุณลักษณะประเด็นนี้ได้ เช่นว่า นกที่มีสุขภาพดีกับนกที่ป่วย จะมีสุ้มเสียงแตกต่างกันอย่างไร และ Redpath ก็ได้พบว่า เวลาเธอเปิดเทปบันทึกเสียงของนกฮูก นกฮูกที่มีพยาธิในตัวจะใช้เวลานานเกือบ 15 นาที จึงส่งเสียงตอบ แต่นกฮูกที่สมบูรณ์ไร้พยาธิใดๆ จะใช้เวลาเพียง 6 นาที 30 วินาทีเท่านั้นเอง ก็ส่งเสียงร้องตอบแล้ว
นอกจากนี้ เธอก็ยังพบอีกว่าความถี่ของเสียงที่นกที่มีพยาธิในตัวเปล่งออกมานั้น จะแตกต่างจากเสียงของนกที่ไม่มีพยาธิ ซึ่งแม้แต่ หูคนก็สามารถจำแนกได้ เพราะความถี่สูงสุดของเสียงที่นกที่มีพยาธิเปล่งออกมาเป็นเพียง 0.82 กิโลเฮิรตซ์ ในขณะที่ความถี่สูงสุด ของเสียงที่นกที่สมบูรณ์เปล่งออกมาจะสูงถึง 0.98 กิโลเฮิรตซ์
และในวารสาร Science ฉบับที่ 292 ประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 Jose Luis Pena แห่ง California Institute of Technology ในสหรัฐอเมริกาก็ได้รายงานเกี่ยวกับธรรมชาติการทำงานของสมองนกฮูกว่า
ถึงแม้จะเป็นคืนที่มืดสนิทและเงียบสงัด แต่ถ้ามีหนูเคลื่อนไหวอยู่ในบริเวณที่หูนกฮูกสามารถได้ยินได้ ชีวิตของหนูตัวนั้นก็จะจบสิ้น ในอีกไม่กี่นาที เพราะนกฮูกจะรู้ทันทีว่า มันจะต้องบินไปสู่ที่ใด ทั้งนี้ เพราะสมองส่วนที่เรียกว่า interior colliculus ของมันสามารถ บอกระยะทางที่เหยื่ออยู่ไกลจากตัวมันได้ เช่น ถ้าหนูอยู่ทางขวาของมัน หูขวาของนกฮูกก็จะได้ยินเสียงที่ดังกว่าหูข้างซ้ายของมันเล็กน้อย และเมื่อสัญญาณเสียงจากหนูเดินทางถึงหูขวาก่อนหูซ้ายเล็กน้อย ความแตกต่างนี้จะทำให้เซลล์ประสาทในหูของนกฮูกคำนวณตำแหน่ง ของเจ้าของเสียงได้อย่างถูกต้อง
อนึ่ง ในการทดลองนี้ เขาได้ใช้นกฮูกยุ้ง 14 ตัว และใช้หูฟังติดที่หูของนกฮูกกลุ่มนี้เพื่อตรวจวัดปฏิกิริยาตอบสนองของนกฮูกเวลา ได้ยินเสียงและเขาก็ได้พบว่า เซลล์ประสาทในหูนกฮูกเวลาได้รับสัญญาณแทนที่จะทำงานโดยการรวบรวม (บอก) สัญญาณ มันจะทำงานในลักษณะคูณสัญญาณกัน ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ processor ในเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ "มันจึงหาตำแหน่งเจ้าของเสียง ได้เร็วและถูก"


งูเหลือม


งูเหลือม


งูเหลือม  Reticulated Python(Regal Python)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Python reticulatus

ลักษณะทั่วไป   
    งูเหลือม เป็นงูที่ใหญ่ที่สุดในโลก เมื่อเทียบกับขนาดน้ำหนัก มีปากใหญ่ ฟันแหลมคม ขากรรไกร แข็งแรงมาก และความยาวของลำตัว มีนิสัยดุร้ายแต่ไม่มีพิษ งูเหลือมมีตัวสีน้ำตาลเหลืองเมื่อมีอายุมากขึ้นพื้นตัวจะเข้มเป็นสีน้ำตาลแดง มีลายแบ่งเป็นวงมีหลายสี สีบนหัวมักจะสีอ่อน บริเวณกลางหัวด้านบนมีเส้นสีดำจากท้ายทอย มาเกือบถึงปลายปากเรียกว่า ศรดำ ตามตัวมีลายดำเป็นลักษณะตาข่าย ภายในวงตาข่ายดำสีเหลืองอ่อน มีสีขาว งูเหลือมผสมพันธุ์ในระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
ระยะเวลาตั้งท้อง ประมาณ 80 วัน วางไข่ครั้งละ 30-50 ฟอง ฟักไข่นาน 90 วัน โดยตัวเมียขดตัว กกฟักไข่ตลอดเวลาและจะไม่กินอาหารเลยระหว่างกกไข่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม เป็นช่วงที่ลูกงูเหลือมถูกฟักออกจากไข่มาก งูเหลือมจะมีอายุ ประมาณ 30-35 ปี

ถิ่นอาศัย, อาหาร
     มีทุกภาคในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย สิงคโปร์ 
     งูเหลือมกินสัตว์แทบทุกชนิด เช่น เก้ง สุนัข กระต่าย หนู ไก่ เป็ด นก บางครั้งก็จับปลากินด้วย 

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     งูเหลือมเป็นงูไม่มีพิษ เลื้อยช้าๆ ดุ ออกหากินกลางคืน หากินทั้งบนบกและในน้ำ อาศัยนอนตามโพรงดินโพรงไม้ในที่มืดและเย็น หลาย ๆ วันจึงจะออกหากินครั้งหนึ่ง 
     ในฤดูฝนที่มีน้ำหลาก มักพบงูเหลือมหนีน้ำขึ้นบนต้นไม้ บางครั้งอาจหนีเข้าไปอยู่ในบ้านเรือน ในประเทศไทยพบงูเหลือมชุกชุมทุกภาค ทุกลักษณะภูมิประเทศทั้ง  ป่าทึบ ป่าโปร่ง ป่าบนเทือกเขา ป่าในที่ลุ่ม ตามไร่นาสวน และแม้กระทั่งตามที่รกใกล้บ้าน 
     งูเหลือมมีการสืบพันธุ์คล้ายงูหลาม แต่มีระยะฟักไข่ 3 เดือน ลูกงูที่ออกจากไข่มีความยาวประมาณ 55 เซนติเมตร 

สถานภาพปัจจุบัน
     เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535



เต่าทอง


เต่าทอง

Ladybug

ลักษณะทั่วไป
แมลงเต่าทองมีช่วงการเจริญเติบโตครบทั้ง 4 ระยะ คือ ระยะตัวเต็มวัย ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน และระยะดักแด้
ตัวเต็มวัย
ตัวเต็มวัยหลังจากฟักออกจากดักแด้จะเป็นแมลงปีกแข็ง ลำตัวยาว 3-6 มิลลิเมตร ลำตัวมีลักษณะมันวาว มีหลายสีตามชนิด อาทิ สีน้ำตาลแดง สีแดง สีเหลืองปนน้ำตาลแดง และสีเหลือง เป็นต้น
ส่วนหัว และอกมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนท้อง หัว และอกมีสำดำ และพบจุดแต้มสีขาวบนส่วนอก แต่บางชนิดอาจมีีส่วนอก และส่วนหัวเป็นสีเดียวกันกับสีปีก บางชนิดมีอกปล้องแรกสีเหลือง มีสัญลักษณ์คล้ายรูปตัวที (T-shaped) อยู่ตรงกลางเชื่อมต่อกับเส้นกลางปีก และปีกแต่ละข้างมีลายหยักขวาง 2 เส้น โดยส่วนปีกอาจมีได้หลายสีตามที่กล่าวข้างต้น แต่ทุกชนิดจะมีจุดสีดำแต้มติดบนส่วนปีก จุดนี้อาจมี 4 จุด หรือมากกว่า และมักพบจุดแต้มสีดำที่แต้มเชื่อมกันบริเวณกึ่งกลางโคนปีกที่เชื่อมติดกับส่วนอก บางชนิดอาจมีหนวด แต่บางชนิดไม่มีหนวด อาจมีขนปกคลุม และอาจไม่มีขนปกคลุม
ขามี 6 ขา สีดำ ขาคู่แรกอยู่ที่ส่วนอก ส่วนขาอีก 2 คู่ อยู่ที่ตอนต้นติดกับส่วนอก 1 คู่ และตอนกลางของส่วนท้อง 1 คู่ ขามีลักษณะเป็นปล้องต่อกัน 3 ปล้อง แบ่งเป็นโคนขา ขา และเท้าที่เป็นปล้องสุดท้าย มีระยะตัวเต็มวัยประมาณ 55-92 วัน มีวงจรชีวิตประมาณ 71-117 วัน
Ladybug1
ระยะไข่
แมลงเต่าทองจะชอบวางไข่ใต้ใบไม้ในลักษณะเรียงกันเป็นแถว 2-3 แถว กลุ่มละ 8-16 ฟอง ไข่ที่ออกมามีลักษณะกลมยาว กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร สีเหลือง และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และดำ จนฟักออกเป็นตัวอ่อน ภายใน 3-4 วัน หลังวางไข่
ระยะตัวอ่อน
ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่ และเจริญจนมีอัตราเติบโตคงที่จะมีความยาวลำตัวประมาณ 8-9 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำปนน้ำตาลแดง มีกลุ่มขนคล้ายปะการังเรียงเป็นแถวบริเวณส่วนหน้าของหัวจรดส่วนท้ายของลำตัว ส่วนบนสันหลังปล้องที่ 1 และปล้องที่ 4 ของส่วนท้อง  และบริเวณด้านข้าง และด้านล่างของลำตัว จะมีสีเหลืองอ่อนเกือบขาว เมื่อเริ่มเข้าระยะดักแด้ ลำตัวจะหดสั้นลง มีระยะตัวอ่อน 10-15 วัน
ระยะดักแด้
เมื่อเข้าดักแด้ ดักแด้จะมีลักษณะแบนเล็กน้อย มีสีเหลือง มีรูปร่างรีคล้ายไข่ ส่วนปลายสุดของปล้องท้องงอเข้าหาส่วนอก กลุ่มขนจะร่วงหายไป บนดักแด้มีรอยพาดสีดำ และจุดสีดำเล็กๆ มีระยะดักแด้ 3-6 วัน
การดำรงชีพ
ตลอดอายุขัย เพศเมียสามารถวางไข่ได้กว่า 23 ครั้ง จำนวนไข่แต่ละครั้ง 439 ฟอง มีร้อยละการฟักออกจากไข่ 99.05
อาหารแมลงเต่าทอง
แมลงเต่าทองจัดเป็นตัวห้ำที่คอยควบคุมแมลงต่างๆ โดยมีอาหารที่คอยจับกิน ได้แก่ แมลงชนิดต่างๆ เพลี้ย และหนอนของแมลง
ประโยชน์แมลงเต่าทอง
แมลงเต่าทองเป็นแมลงตัวห้ำที่คอยควบคุมศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ไข่ และหนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวัน ไข่ และหนอนแมลงหวี่ หนอนซอนใบ และไร เป็นต้น

กุ้งก้ามแดง


กุ้งก้ามแดง

เพาะเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ทำรายได้นับหมื่นต่อเดือน

เมื่อคนยุคใหม่สนใจการเกษตร หันมาสนใจเลี้ยงกุ้งก้ามแดง ใช้ซอกเล็กๆ ของบ้านทำรายได้นับหมื่นบาทต่อเดือน
ฤทัยรัตน์กล่าวว่า ราวปี 2556 เริ่มรู้จักกุ้งก้ามแดงและตัดสินใจซื้อมาเลี้ยง 30 ตัว ตัวเมีย 20 ตัว ตัวผู้ 10 ตัว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตายหมดทั้งบ่อ แต่ไม่ท้อซื้อมาเลี้ยงใหม่อีก 100 ตัว วิธีการเลี้ยงจากลองผิดลองถูก ศึกษาด้วยตัวเอง การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงใช้ต้นทุนไม่สูง สามารถเลี้ยงได้ในอ่างเล็กๆ กะละมังซักผ้าที่ผสมปูนก็เลี้ยงได้ หรืออาจใช้บ่อซีเมนต์หรือใช้บ่อพลาสติก และถ้ามีที่มากๆ เป็นบ่อดิน ก็ยิ่งทำให้กุ้งเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี
กุ้งก้ามแดงกินสัตว์เป็นอาหาร ทำให้ต้องระวังไม่ให้กินกันเอง คือกุ้งต้องมีที่หลบซ่อนตัวอย่างเพียงพอเวลาลอกคราบ เพราะตัวจะอ่อนมาก อาจเป็นอาหารให้กับพวกกันเองได้ จึงต้องทำที่หลบมุมให้มากๆ ตัวเล็กก็ใช้ตาข่ายพลาสติกที่ทำมุ้งลวดหรือตู้กับข้าวเก่าๆ นำมาวางในน้ำให้เป็นที่หลบซ่อนตัว ส่วนกุ้งตัวใหญ่ใช้ท่อพีวีซีตามขนาดตัวตัดพอดีตัวใส่ไว้ในบ่อกุ้ง กุ้งจะเข้าไปหลบซ่อนเอง
อาหารที่นิยมใช้กันคืออาหารเม็ด เพราะเป็นอาหารสำเร็จที่เหมาะสมกับทั้งสภาพน้ำและความสะดวกของผู้เลี้ยง แต่ที่ฟาร์มจะใช้อาหารเม็ดขนาดใหญ่ขนาดเดียว ถ้าเป็นตัวเล็กก็ใช้บดให้เล็กลง ส่วนอาหารที่ทำให้กุ้งเติบโตดีและต้องการมากในช่วงขยายพันธุ์คือไส้เดือน
การเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ เนื่องจากกุ้งก้ามแดงเป็นกุ้งน้ำจืด มีการผสมพันธุ์กันเองภายในบ่อ คือต้องใส่ตัวผู้ 20-30 เปอร์เซ็นต์ และกุ้งส่วนใหญ่เป็นตัวเมีย ช่วงที่กุ้งผสมพันธุ์สังเกตได้ว่าตัวผู้จะกินอาหารมากกว่าปกติ เมื่อเห็นกุ้งเริ่มอุ้มท้อง ลำตัวกุ้งตัวเมียจะงอรองรับไข่ใต้ท้องไว้ ควรแยกออกมาเลี้ยงต่างหาก รอให้กุ้งวางไข่ออกเป็นตัว แล้วจึงแยกพ่อแม่พันธุ์ออกภายใน 45 วัน ไข่กุ้งจะฟักเป็นตัว แม่หนึ่งให้ไข่มากถึง 800 ฟอง คัดแยกลูกกุ้งออกเลี้ยงในบ่ออนุบาล เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดบด ตรวจสภาพน้ำทุก 15 วัน ลูกกุ้งจะได้มากน้อยขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงว่าสามารถดูแลได้ดี ไม่ให้กินกันเอง ไม่ให้น้ำเสีย สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญ
การจำหน่ายกุ้งก้ามแดงสามารถจำหน่ายได้ตั้งแต่ฟักเป็นตัว เพราะตลาดมีความต้องการสูง แต่ที่ฟาร์มจะเลี้ยงลูกกุ้งไว้ 3-4 เดือน ให้มีขนาดใหญ่ 1.5 นิ้ว จะเริ่มจำหน่ายตัวละ 30 บาท ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีจะมีลูกกุ้งจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี โดยใช้พื้นที่เล็กๆ ซอกข้างบ้านก็สามารถทำได้ ปัจจุบันมีรายได้จากการจำหน่ายลูกกุ้งแต่ละเดือนไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท เป้าหมายจริงๆ ต้องการเลี้ยงเป็นกุ้งเนื้อ ขนาด 20 ตัว 1 กิโลกรัม จำหน่ายกันที่กิโลกรัมละ 500 บาท ส่วนขนาดใหญ่มากๆ ร้านอาหารใหญ่ๆ ต้องการมากคือ 4 ตัว 1 กิโลกรัมราคาจะอยู่ที่ 1,000 บาท ใช้เวลาเลี้ยง 1 ปีเศษ การเพาะเลี้ยงจำหน่ายที่บ้านมีน้องๆ นักเรียนนักศึกษา ผู้สูงอายุ ซื้อไปเลี้ยงดูเล่นกัน ในที่สุดก็เติบโตออกลูกจำหน่ายได้ ทำรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี
กุ้งก้ามแดงเป็นชื่อที่คนไทยเรียกกัน แต่ชื่อของกุ้งชนิดนี้คือกุ้งเครย์ฟิช หรือกุ้งล็อปสเตอร์นั่นเอง ถือเป็นกุ้งที่เลิศรสยอดนิยมของคนทั่วโลกที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยยังเป็นกุ้งที่มีรสชาติอร่อยที่สุดในกลุ่มกุ้งแม่น้ำด้วยกัน กุ้งชนิดนี้เข้ามาในเมืองไทยและทดลองเลี้ยงอยู่ที่โครงการหลวงดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ นานแล้ว เป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็นความสำคัญและนำเข้ามาศึกษาเพาะเลี้ยงจนเกิดองค์ความรู้การเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ในเมืองไทย

ปลาทอง


ปลาทอง

ปลาทอง

ปลาทอง  (Carassius auratus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน และญี่ปุ่น ถูกนำไปเลี้ยงในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 17 และในอเมริกา ในศตวรรษที่ 19  ปลาทองพันธุ์ดั้งเดิมมีลักษณะคล้ายปลาไน (Cyprinus carpio) มีลำตัวยาว และแบนข้าง หัวสั้นกว้าง หางสั้นเหมือนปลาไน จนมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีลักษณะเด่นที่สวยงามมากขึ้น
advertisement
ปลาทอง เป็นปลาที่อดทน กินอาหารได้เกือบทุกชนิด แพร่พันธุ์ได้เร็ว มีสีหลากหลายตั้งแต่สีแดง สีทอง สีส้ม สีเทา สีดำ และสีขาว หรือมีหลากหลายสีในตัวเดียวกัน เป็นปลาสวยงามที่มีขนาดพอเหมาะกับการเลี้ยงในภาชนะแคบ ๆ เช่น ตู้กระจกหรือบ่อขนาดเล็กได้ จึงได้มีผู้พยายามผสมพันธุ์ และคัดพันธุ์ปลาทองจนได้ลูกปลาที่มีลักษณะแปลก ๆ สีสวย ๆ
อนุกรมวิธาน
Phylum: Chordata
Subphylum: Vertebrata (Craniata)
Superclass: Gnathostomata
Division: Teleostei
Subdivision: Euteleostei
Superorder: Ostariophysi
Order: Cypriniformes
Family: Cyprinidae
Genus: Carassius
Species: auratus
ลักษณะทั่วไป
1. หัว เริ่มตั้งแต่ปากจนถึงเหงือก ประกอบด้วย
1.1 ตา แบ่งเป็น 4 แบบ คือ
– ตาปกติ ได้แก่ ปลาทองธรรมดา ปลาทองโคเมท ปลาทองริวกิ้น ปลาทองออแรนดา และปลาทองเกร็ดแก้ว เป็นต้น
– ตาโปนด้านข้าง ได้แก่ ปลาทองตาโปนต่างๆ และปลาทองเล่ห์
– ตาหงายขึ้นด้านบน ได้แก่ ปลาทองตากลับ
– ตามีขอบโป่งพองคล้ายถุงน้ำด้านข้าง ได้แก่ ปลาทองตาลูกโป่ง
1.2 ปาก ทำหน้าที่กินอาหาร และส่งอาหารเข้าสู่กระเพาะ
1.3 จมูก อยู่บริเวณเหนือริมฝีปากขึ้นมาเล็กน้อย มีรูป 2 รู สำหรับดมกลิ่นอาหารไม่ใช่สำหรับการหายใจ บางพันธุ์รูจมูกมีลักษณะเป็นเยื่อยื่นออกมา เช่น ปลาทองปอมปอน
1.4 เหงือก เป็นแผ่นกระดูกอยู่บริเวณแก้ม ทำหน้าที่กรองออกซิเจนเข้าสู่ระบบกระแสเลือด มีแผ่นปิดเหงือกป้องกันอันตรายต่อเหงือก
1.5 วุ้นหรือโหนก เป็นเนื้อเยื่อที่มีลักษณะกลมคล้ายฟองสบู่ อยู่บริเวณด้านบนของหัว เป็นก้อนเนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยชั้นไขมันหนารวมกัน พบในปลาทองบางชนิด มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่
– โหนกคล้ายหัวเรือ พบในปลาทองพันธุ์วากิง พันธุ์ริวกิ้น
– โหนกกลมรี พบในปลาทองพันธุ์ออแรนดาหัววุ้น
– โหนกทรงกลมครึ่งเหรียญ พบในปลาทองพันธุ์หัวสิงห์
2. ลำตัว เริ่มตั้งแต่แผ่นปิดเหงือกจนถึงโคนครีบหาง ประกอบด้วย
2.1 เกล็ด เป็นแผ่นบางใส เรียงซ้อนกันบนผิวหนัง ทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายในลำตัว และป้องกันการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ส่วนที่ผิวเกล็ดปกคลุมด้วยเมือกใส เหนียว ที่ขับออกมากจากต่อมใต้ผิวหนัง ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรค และลดการเสียดสีของลำตัวกับวัสดุหรือปลาตัวอื่น ขณะว่ายน้ำหรือเคลื่อนที่
2.2 ครีบอกหรือครีบหู เป็นครีบคู่ ตั้งอยู่บริเวณกระพุ้งแก้มหลังแผ่นเหงือกข้างละคู่ ทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่ขึ้น-ลง หรือทรงตัวอยู่กับที่
2.3 ครีบท้อง เป็นครีบคู่ บริเวณท้องถัดจากครีบอกไปทางด้านหลังเล็กน้อย ทำหน้าที่เหมือนกับครีบอก
2.4 ครีบก้น พบมากเป็นครีบเดี่ยวหรือมีครีบเดียว บางชนิดมีรูปร่างคล้ายตัว V เป็นแฉกแยกออกมา หรือบางชนิดเป็น 2 ครีบ ตั้งอยู่บริเวณส่วนด้านล่างสุดของลำตัว ถัดจากครีบหลังไปทางด้านหน้าเล็กน้อย ใกล้บริเวณรูทวารหนัก ทำหน้าที่ช่วยการทรงตัว
2.5 ครีบหลัง ทำหน้าที่ช่วยให้การเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่แน่นอน และรวดเร็วขึ้น เหมือนหางเสือ แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
– ครีบหลังแบบเสากระโดงเรือ ตั้งอยู่กลางลำตัว เช่น ปลาทองธรรมดา ปลาทองโคเมท ปลาทองชูบุงกิ เป็นต้น
– ครีบหลังแบบยาว เช่น ปลาทองริวกิ้น และปลาทองออแรนดาหัววุ้น เป็นต้น
– แบบไม่มีครีบหลัง เช่น ปลาทองตาโปน ปลาทองตากลับ ปลาทองหัวสิงห์โต และปลาทองตาลูกโป่ง
3. หาง เริ่มตั่งแต่โคนหางถึงปลายหาง เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ให้ปลาเคลื่อนไปข้างหน้าเหมือนใบพัดเรือ รวมถึงการบังคับเลี้ยว การทรงตัว ถือเป็นอวัยวะส่วนที่ดึงดูดให้ผู้เลี้ยงชื่นชอบ แบ่งลักษณะหางออกเป็น 6 แบบ คือ
– หางซิวสั้น มีลักษณะส่วนปลายหางแยกออกเป็น 2 แฉก มีขนาดสั้น เช่น ปลาทองธรรมดา
– หางซิวยาว มีลักษณะส่วนปลายหางแยกออกเป็น 2 แฉก มีขนาดยาว และแฉกเว้าลึก เช่น ปลาโคเมท ปลาทองชูบุงกิ เป็นต้น
– หาง 3 แฉก มีลักษณะหางด้านบนติดกันเป็นแฉกที่ 1 ส่วนหางด้านล่างแยกเป็น 2 แฉก
– หางดอกซากุระ มีลักษณะหางแยกเป็น 4 แฉก แยกออกจากกันอย่างเห็นได้ชัด
– หางนกยูง มีลักษณะเหมือนหางแบบซากุระ แยกออกเป็น 4 แฉก ปลายครีบหางแผ่ตั้งคล้ายหางนกยูง เช่น ปลาทองยิคิง
– หางกลับ มีลักษณะครีบหางด้านบนห้อยลงมากลับกับครีบหางด้านล่าง
พันธุ์ปลาทอง
แบ่งตามลักษณะลำตัวแบน
1. ปลาทองธรรมดา (Common Goldfish) เป็นปลาทองทั่วไปที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ มีสีเขียว สีส้ม สีทอง และสีขาว และอาจมีจุดหรือลายสีดำ ลำตัวยาว แบน
2. ปลาทองโคเมท (Comet Goldfish) เป็นปลาทองที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากปลาทอง Common Goldfish มีลักษณะครีบหางยาวเรียว และบางตัวอาจยาวมากกว่าสามส่วนสี่หรือหนึ่งเท่าของความยาวลำตัวเลยทีเดียว ลำตัวมีสีส้ม สีขาวเงิน และสีเหลือง เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วเนื่องจากมีเครีบหางที่ยาว
3. ปลาทองชูบุงกิ (Shubunkin Goldfish) เป็นสายพันธุ์ปลาทองที่มีกำเนิดในประเทศญี่ปุ่น ลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาทองธรรมดา แต่มีครีบยาวกว่า ปลายหางกลมมน ลำตัวมีสีส้ม สีแดง สีขาว และสีผสมของที่กล่าวมา
4. ปลาทองวากิง (Wakin Goldfish) เป็นสายพันธุ์ปลาทองที่มีกำเนิดในประเทศจีน ลำตัวแบนยาว มีครีบหางเป็นคู่ ลำตัวมีสีแดงสดหรือ สีขาว
แบ่งตามลักษณะลำตัวกลมหรือรูปไข่
1. ปลาทองริวกิ้น (Ryukin Goldfish)
ลำตัวด้านข้างดูกว้าง สั้น ท้องอ้วนกลม มีโหนกหลังสูง ครีบหลังตั้งขึ้นมีขนาดใหญ่ยาว ครีบหางยาว เว้าลึก เกล็ดลำตัวหนาแข็ง สีลำตัวพบมากมี 4 สี มีสีแดง ขาว ขาวแดง และส้ม และอาจมีสีอื่น เช่น สีส้ม ดำ ขาว และฟ้า
2. ปลาทองพันธุ์ออแรนดา (Oranda Goldfish)
เป็นปลาทองสายพันธุ์ผสมระหว่างปลาทองพันธุ์หัวสิงห์ และริวกิ้น ลำตัวคล้ายรูปไข่หรือรูปรี ส่วนท้องไม่ป่องมาก ครีบยาวใหญ่ โดยเฉพาะครีบหางที่ยาวห้อยสวยงาม แบ่งย่อยเป็น
– ออแรนดาธรรมดา
มีลำตัวยาวรี หัวไม่มีวุ้น ครีบหางยาวมาก
– ออแรนดาหัววุ้น
ลำตัว และหางไม่ยาวเท่าออแรนดาธรรมดา บริเวณหัวมีวุ้นคลุมอยู่
คล้ายปลาทองหัวสิงห์ แต่วุ้นไม่ปกคลุมทั้งหมด และลักษณะวุ้นที่ผู้เลี้ยงต้องการมาก คือ ต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยม
– ออแรนดาหัวแดง (red cup oranda)
เป็นปลาทองพันธุ์ออแรนดาหัววุ้น แต่เน้นที่สีของวุ้นบนหัว ซึ่งจะสีเฉพาะ คือ สีแดง ขณะที่ลำตัวมีสีขาว เป็นปลาทองที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศญี่ปุ่น จากการผสมระหว่างพันธุ์หัวสิงห์และริ้วกิ้น มีลักษณะตัวที่มีขนาดใหญ่ยาวได้ถึง 60 ซ.ม.
– ออแรนดาห้าสี (calico oranda)
มีลักษณะเหมือนออแรนดาหัววุ้น แต่ลำตัวมี 5 สีที่เป็นเฉพาะ คือ สีฟ้า ขาว ดำ แดง และส้ม
– ออแรนดาหางพวง (vailtail oranda)
มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ มีครีบหางยาวเป็นพวง ครีบหลังยาวพริ้ว หัวมีวุ้นเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ลำตัวใหญ่ ป้อมสั้น ท้องกลม ด้านหลังแบนข้างเล็กน้อย โหนกสันหลังสูง ทำให้ส่วนหัวดูเล็ก ครีบหลังยาวใหญ่
3. ปลาทองตาโปน (Telescope eyes Goldfish)
มีลักษณะลำตัวสั้น ท้องกลม คล้ายพันธุ์วินกิ้ง แต่มีลักษณะเด่นที่ตาทั้งสองข้าง โดยตามีลักษณะยื่นโปนออกมาด้านข้าง ผู้ที่ชื่นชอบปลาทองพันธุ์นี้ หากมีตายื่นโปนออกมามากยิ่งมีราคาสูง แบ่งย่อยเป็น
– ปลาทองตาโปนสีแดง หรือ ขาวแดง มีลักษณะลำตัว และครีบสีแดงเข้ม หรือมีสีขาวสลับแดง และหากมีสีขาว ต้องเป็นสีขาวอย่างเดียวไม่มีสีอื่นแกมผสม
– ปลาทองตาโปน 3 สี หรือ 5 สี มีลักษณะเหมือนปลาทองตาโปนทั่วไป แต่จะมีสีของลำตัว และครีบ 3 หรือ 5 สี เท่านั้น
4. ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl scales Goldfish)
มีลักษณะลำตัวอ้วน กลม สั้น ส่วนท้องป่อง มองด้านข้างมีมีลักษณะทรงกลม หัวเล็ก ปากแหลม พันธุ์นี้มีลักษณะเด่นที่เกล็ดที่เป็นที่มาของชื่อ คือ เกล็ดหนามาก มีลักษณะนูนขึ้นเป็นเม็ดกลมๆ เพราะเกล็ดมีสารกัวอานิน (guanin) ที่เป็นองค์ประกอบมาก ลักษณะที่ดีของปลาทองพันธุ์นี้ คือ เกล็ดต้องนูนเด่น และเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ และเป็นระเบียบ ครีบ และหางจะต้องแผ่ออก ไม่หุบงอ สีทีนิยมมาก ได้แก่ สีแดง ส้ม ขาวแดง ขาว เหลือง และดำ พันธุ์ที่ประเทศไทยนิยมเลี้ยง ได้แก่ ปลาทองเกล็ดแก้วหัวมงกุฏ ปลาทองเกล็ดแก้วหน้าหมู และปลาทองเกล็ดแก้วหัววุ้น
5. ปลาทองพันธุ์เล่ห์ (Black telescope eyes Goldfish หรือ Black moor)
ปลาทองพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นที่สีลำตัว คือ จะต้องมีสีลำตัวทุกส่วนดำสนิท ไม่มีสีอื่น และต้องไม่เปลี่ยนสีตลอดอายุ ได้แก่ ปลาทองรักเล่ห์ หรือ เล่ห์
6. ปลาทองพันธุ์แพนด้า (Panda Goldfish)
เป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมากในประเทศจีน เป็นปลาทองที่พัฒนามาจากพันธุ์เล่ห์ ปลาทองพันธุ์นี้มีลักษณะเด่น คือ ครีบทุกครีบ รวมทั้งครีบหางจะมีสีดำสนิท ส่วนสีลำตัวจะเปลี่ยนจากสีดำเป็นสีขาวหรือสีเงิน ทำให้มีลักษณะคล้ายกับหมีแพนด้าของจีน
7. ปลาทองพันธุ์ปอมปอน (Pompon Goldfish)
มีลักษณะลำตัวป้อม สั้น แต่ยาวกว่าปลาทองหัวสิงห์ มองจากด้านบนจะมีรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์ ผนังกั้นจมูกยื่นยาวออกเป็นพู 2 พู พันธุ์ที่นิยมเลี้ยง คือ ปลาทองปอมปอนสีแดง ไม่มีครีบหลัง
แบ่งตามลักษณะลำตัวกลม ไม่มีครีบหลัง
1. ปลาทองหัวสิงห์ (Lion head) มีแหล่งกำเนิดในประเทศจีน ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาทอง
ชนิดที่ได้รับความนิยมมากในหมู่ผู้เลี้ยงปลา ปลาชนิดนี้มีรูปทรงสง่างาม มีอยู่ 2 สายพันธุ์คือ สิงห์จีนและสิงห์ญี่ปุ่น สิงห์จีนจะมีลักษณะหัวใหญ่ส่วนใหญ่จะมีวุ้นหนา ลำตัวยาว สิงห์ญี่ปุ่นส่วนหัวจะเล็กกว่าส่วนใหญ่ไม่มีวุ้นลำตัวสั้น หลังจะโค้งมน หางสั้นและเชิดขึ้นดูสง่างาม ปลาทองหัวสิงห์เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินลูกน้ำ ไรแดง ไข่น้ำ การเลี้ยงปลาชนิดนี้ให้ได้ดีควรเลี้ยงในอ่างตื้น ๆ ลึกไม่เกิน 8 นิ้ว จะทำให้ปลามีรูปร่างสวยงาม
2. ปลาทองตากลับ (Celestial Goldfish)
3. ปลาทองตาลูกโป่ง (Bubble eyes Goldfish)
การแยกเพศปลาทอง
ปลาทองจะเริ่มสามารถสังเกตเพศได้ตั้งแต่อายุประมาณ 4-5 เดือนขึ้นไป โดยสังเกตได้ดังนี้
1. รูปร่าง ปลาเพศเมียมีรูปร่างป้อมสั้น โดยเฉพาะช่วงวางไข่ที่มีไข่ในท้องจำนวนมาก ส่วนเพศผู้เพรียวยาวกว่า
2. ผนังท้อง ปลาเพศมเียมีผนังท้องกลม และนุ่ม ส่วนปลาเพศผู้มีผนังท้องแบน และแข็ง
3. กระพุ้งแก้ม ปลาเพศเมียจะมีกระพุ้งแก้มเรียบและลื่น ส่วนเพศผู้เมื่อโตเต็มวัยจะมีตุ่มสิวสีขาวขุ่นเล็กๆ หยาบ และสากมือ
4. ครีบอก ปลาเพศเมียมีครีบอกเรียบ ส่วนเพศผู้มีตุ่มสิวขาวขุ่นที่ครีบ ก้านครีบมีลักษณะแข็ง
5. รูทวาร ปลาเพศเมียมีรูทวานค่อนข้างกลม เมื่อถึงฤดูวางไข่ รังไข่จะโผล่ออกมาอย่างเห็นได้ชัด รอบรูทวารมีสีชมพูเรื่อๆ ส่วนเพศผู้มีรูทวารรูปวงรี ชั้นเดียว
การเลี้ยงปลาทอง
ปลาทองเพศผู้สามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าปลาทองเพศเมีย และโตเต็มวัยสามารถเป็นพ่อแม่ได้เมื่ออายุประมาณ 6-8 เดือน มักผสมพันธุ์ และวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม และในระยะก่อน และหลังนั้น อาจมีการผสมพันธุ์ และวางไข่บ้างในบางสายพันธุ์
น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทองอาจเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำประปา แต่ปลาทองจะแพ้น้ำที่มีคลอรีนสูง ทำให้เหงือกอักเสบ โดยเฉพาะในน้ำประปาที่มักมีคลอรีนคงค้างอยู่ หากต้องการใช้น้ำประปาเลี้ยง ควรปล่อยให้คลอรีนอิสระสลายตัวเสียก่อน ด้วยการพักน้ำประปาไว้ประมาณ 3-5 วัน  ปริมาณน้ำที่ต้องการในตู้ปลาอย่างต่ำสำหรับการเลี้ยงปลาทองอย่างน้อยเท่ากับขนาดความยาวของลำตัว โดยมีหน่วยเป็นลิตร เช่น ปลาทองขนาดลำตัวยาว 10 ซม. ควรมีน้ำอย่างน้อย 10 ลิตร แต่ในทางปฏิบัติที่ดีควรให้น้ำมากไว้ก่อน โดยพิจารณาระดับออกซิเจนในน้ำที่เพียงพอร่วมด้วย
ลักษณะนิสัยของปลาทองเป็นปลาที่ชอบว่ายน้ำตลอดเวลาจึงไม่ควรจึงไม่ควรใส่หินหรือของประดับไว้มากมายจนขวางพื้นที่ว่ายน้ำของปลา แต่ควรใช้พวกกรวดทรายวางไว้ด้านล่าง เนื่องจากปลาทองมีนิสัยชอบขุดค้นทรายตามพื้น
อาหาร และการให้อาหาร
อาหารสำหรับปลาทอง ได้แก่
การให้อาหาร มักใช้อาหารสำเร็จรูป โดยเฉพาะในระยะการเลี้ยงในตู้ปลาหลังการอนุบาล โดยการแบ่งให้ เช้า-เย็น ในปริมาณ 2-3% ของน้ำหนักตัวปลา และอาหารที่ให้นั้น ปลาจะต้องกินหมดภายใน 10-15 นาที เพื่อป้องกันน้ำเน่าจากเศษอาหาร จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน

กระต่าย


กระต่าย

วิธีเลี้ยงกระต่าย

นิสัยของกระต่าย 

1. การกินมูลตัวเอง (Coprophagy)

        กระต่ายจะมีการถ่ายมูลพวงองุ่นที่อ่อนนุ่มในยามเช้าตรู่ แล้วกินกลับเข้าไปใหม่เพื่อปรับลำไส้ให้เป็นปกติ โดยในมูลพวงองุ่นก็จะมีทั้งวิตามินบี โปรตีน และแบคทีเรียที่ดี เมื่อกระต่ายกินมูลกลับเข้าไปก็จะได้รับสารอาหารและแบคทีเรียที่ดีกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง

2. การกัดแทะสิ่งของ

        กระต่ายเป็นสัตว์ฟันแทะและจะแทะเพื่อลับฟัน ไม่ให้ฟันงอกยาวจนเกินไป เพราะหากฟันยาวอาจจะเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้อีกมากมาย ฉะนั้นผู้เลี้ยงจึงควรหากิ่งไม้ ท่อนไม้แห้งเล็ก ๆ แข็ง ๆ หรือไม้แทะแบบสำเร็จรูปทิ้งไว้ให้แทะเล่น แต่ก็ต้องดูว่าไม้นั้น ๆ ต้องไม่เป็นอันตรายต่อกระต่ายด้วย

3. การนอน

        ที่จริงแล้วกระต่ายเป็นสัตว์หากินกลางคืน จะตื่นตอนกลางคืนเพื่อหากินและจะหลับในเวลากลางวัน กระต่ายบางตัวจะนั่งนิ่ง ๆ สักพักโดยไม่หลับตาและนั่นคือการนอนของพวกมัน เพราะกระต่ายมีสัญชาตญาณในการระวังตัวสูง มักตกอยู่ในสถานะผู้ถูกล่าเสมอ จึงระวังตัวตลอดเวลา

4. การเคาะเท้า

        กระต่ายอาจจะเคาะหรือกระโดดขึ้น-ลงให้เกิดเสียง เพื่อเป็นการเตือนภัย พวกมันจะเคาะเท้าเมื่อเกิดภาวะเครียดและตื่นกลัว เช่น มีสัตว์อื่นเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่หรือไม่คุ้นเคยเวลามีคนจะเข้าไปอุ้ม

5. ความก้าวร้าว

        อาการก้าวร้าวอาจเกิดจากการตามใจจนติดเป็นนิสัย การถูกรังแก หรือความต้องการเป็นเจ้าของอาณาเขต จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับนิสัยของกระต่าย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากการตามใจและการถูกรังแกจนฝังใจมากกว่า ซึ่งจะแสดงออกโดยการกัดเวลายื่นมือเข้าไปหรือกัดเวลาได้ของไม่ถูกใจ

สายพันธุ์กระต่ายที่นิยมเลี้ยง

1. กระต่ายไทย (Thai Rabbit)

        เป็นกระต่ายพื้นบ้านของประเทศไทย มีขนสั้น ตัวใหญ่ ว่องไวปราดเปรียว หูยาว หน้าค่อนข้างแหลม มีกล้ามเนื้อขาที่แข็งแรง สามารถกระโดดได้สูง ทนต่อสภาพอากาศได้ดีและมีหลากหลายสี

2. ไลอ้อนเฮด (Lionhead Rabbit)

        มีขนาดตัวไม่ใหญ่มาก มีขนเป็นแผงคอลักษณะคล้ายสิงโต ตัวอ้วน สั้นและกลม หูสั้น ตั้ง มีขนปกคลุม มีหลากหลายสี ทั้งสีขาว น้ำตาล ส้ม และสีผสม ขนาดเมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 2 กิโลกรัม

3. โปลิช (Polish Rabbit)

        นับได้ว่าเป็นกระต่ายพันธุ์ที่เล็กที่สุดเลยก็ว่าได้ น้ำหนักโตเต็มที่ประมาณ 8 ขีด ขนเป็นสีดำ เทา แทน ขาว เป็นสีเดียวกันทั้งลำตัวหรือมีจุดสีแซมเล็กน้อย ดวงตาเล็กเหมือนเมล็ดอัลมอนด์ ไม่ชอบอากาศร้อน

4. มินิลอป (Mini Lop)

        กระต่ายอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างมากในปัจจุบันนี้ มีลักษณะหูตก กะโหลกใหญ่ ขนสั้น แน่น เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักอยู่ประมาณ 1.8 กิโลกรัม

5. เจอร์รี่วูดดี้ (Jerry Woody)

        อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ขนยาวน่ารัก มีลักษณะคล้ายกับเท็ดดี้แบร์ แต่จะมีโครงสร้างที่ใหญ่กว่า น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2-3 กิโลกรัม

6. ฮอลแลนด์ลอป (holland Lop)

        พันธุ์กระต่ายที่มีลักษณะตัวป้อมหัวกลม ขนสั้นหนา นุ่มลื่น ใบหูทั้งสองข้างแนบสนิทกับแก้ม กินเก่ง มีสีมากมายหลากหลายสี ซึ่งถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่าง ๆ ได้มากถึง 7 กลุ่มสี โตเต็มที่จะมีน้ำหนักอยู่ที่ 1.5 กิโลกรัม

พื้นที่สำหรับเลี้ยงกระต่าย

- เลี้ยงในบ้าน

        ถ้าจะเลี้ยงกระต่ายในบ้าน กรงต้องใหญ่กว่าขนาดตัวของกระต่ายอย่างน้อย 4 เท่า ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ยิ่งดี ส่วนพื้นของกรงควรเป็นพื้นไม้เรียบ แบบลวดตาข่ายอาจจะทำให้เท้ากระต่ายมีบาดแผลได้ ห้ามใช้ตู้กระจกเด็ดขาด เพราะมีอากาศไม่เพียงพอ และอย่าลืมวางกระบะถ่ายไว้มุมกรงด้วย

- เลี้ยงนอกบ้าน

        กระท่อมหรือกรงสำหรับการเลี้ยงกระต่ายนอกบ้านต้องกันแดดกันฝนได้ ควรสูงอย่างน้อย 1 ฟุตและมีขนาด 30x36x20 นิ้วเป็นอย่างต่ำ ยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าไรยิ่งดี เพราะจะได้มีพื้นที่วิ่งเล่นมากขึ้นและไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด หลังคาควรจะเป็นแบบเปิดปิดได้ พื้นควรเป็นพื้นไม้มีฟางหรือหญ้าแห้งรองไว้สำหรับนอนด้วย

วิธีจับกระต่าย

        ไม่ควรจับกระต่ายโดยการหิ้วหู เพราะจะทำให้กระต่ายเจ็บและอาจเป็นสาเหตุทำให้กระต่ายหูตกได้ การจับกระต่ายที่ถูกวิธีมีดังนี้

        - ลูกกระต่าย : ใช้มือที่ถนัดจับหนังบริเวณสะโพกให้มั่นคงแล้วยกขึ้นตรง ๆ

        - กระต่ายขนาดกลาง : ใช้มือขวาหรือมือที่ถนัดจับหนังเหนือไหล่ให้มั่นคง อาจรวบหูมาด้วยก็ได้ มือซ้ายรองใต้ก้น ให้ด้านหน้าของกระต่ายหันออกนอกตัวผู้จับ

        - กระต่ายใหญ่ : ใช้มือขวาจับเหมือนการจับกระต่ายขนาดกลาง แล้วยกอ้อมขึ้นมาทางซ้ายมือ ใช้แขนซ้ายหนีบให้แนบชิดลำตัว โดยใช้มือซ้ายช่วยประคองก้น ให้หน้ากระต่ายหันไปทางหลังของผู้จับ และขากระต่ายชี้ออกนอกตัวผู้จับ

วิธีฝึกกระต่าย

1. ฝึกให้ยืน

        นำอาหารล่อไว้เหนือหัวของกระต่าย ใช้เสียงสั่ง เมื่อกระต่ายยืนขึ้นดมอาหารที่นำมาล่อ ให้เอาอาหารให้กิน หัดฝึกบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ รอบ

2. ฝึกให้คุ้นเคย

        เมื่อนำกระต่ายมาบ้านควรปล่อยให้กระต่ายอยู่ปรับตัวก่อน ไม่รบกวน หรือเอาออกมาอุ้มเล่น เมื่อกระต่ายมีท่าทางปกติแล้วให้วางผ้านุ่มหน้ากรงแล้วใช้อาหารล่อ เมื่อกระต่ายมาหาคุณให้วางอาหารไว้ใกล้ ๆ กับคุณ อยู่นิ่ง ๆ ปล่อยให้กระต่ายดมกลิ่นสำรวจสักพัก จากนั้นค่อย ๆ ลูบระหว่างหูทั้งสองข้าง ฝึกวันละหลายรอบ

3. ฝึกให้กลับเข้ากรง

        วางอาหารเป็นทางเข้าในกรง แล้วเรียกหรือส่งเสียงเพื่อเรียกความสนใจ แต่ห้ามเสียงดังหรือใช้น้ำเสียงกร้าว เมื่อกระต่ายตามกินอาหารจนเข้าไปในกรงให้อาหารเป็นรางวัลอีกครั้ง ฝึกวันละ 1–2 รอบหรือทุกครั้งที่ให้อาหาร

โรคที่ต้องระวัง

1. โรคฝี

        โรคฝีเกิดจากภาวการณ์ติดเชื้อใต้ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา เมื่อใช้มือลูบตามลำตัวจะพบเป็นก้อนแข็ง การรักษาต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาดแล้วทาด้วยทิงเจอร์และไอโอดีน

2. ฮีทสโตรก

        กระต่ายจะไวต่อโรคฮีทสโตรกมาก เนื่องจากกระต่ายระบายความร้อนออกจากร่างกายผ่านหูเพียงทางเดียว เมื่อเกิดภาวะฮีทสโตรกกระต่ายจะหายใจหนัก อ่อนเพลีย อยู่นิ่งกับที่ อุณหภูมิร่างกายสูง หากเป็นเช่นนี้ให้นำกระต่ายออกจากกรงและนำไปไว้ในที่เย็นหรือจุ่มลำตัวลงน้ำเย็น

3. เห็บหมัด

        เช่นเดียวกับสุนัขและแมว ลำตัวของกระต่ายที่มีขนปกคลุมมักจะมีเห็บหมัดและแมลงตัวเล็ก ๆ อาศัยอยู่ ผิวหนังจะแห้ง เป็นรังแค เกาตามตัว และสั่นศีรษะ การรักษาควรพาไปหาหมอเพื่อจำกัดและรับยารักษา

4. โรคจากแบคทีเรียพาสทูเรลลา

        พาสทูเรลลา (Pasteurella) เป็นแบคทีเรียที่อยู่ในร่างกายกระต่ายแต่จะไม่แสดงอาการเด่นชัด สามารถติดต่อไปยังกระต่ายตัวอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเป็นโรคจะมีน้ำมูก ตาแฉะ หายใจลำบาก ผิวหนังบวม ซึมเศร้า

5. ฉี่เป็นเลือด

        อาการฉี่เป็นเลือดในกระต่ายส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเม็ดสีที่เรียกว่าพอร์ไฟริน (Porphyrin) อาการนี้ไม่เป็นอันตรายใด ๆ และจะหายไปเองภายใน 2 วัน